ความเป็นมา

อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นกลไกสำคัญหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศไทยให้เข้มแข็ง ผ่านการให้บริการพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากร ที่อำนวยความสะดวกสำหรับการต่อยอดงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคทั่วประเทศให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์และ/หรือเกิดประโยชน์แก่สังคม โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคชุมชน เพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี รวมถึงสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมของประเทศ จึงกล่าวได้ว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศ และให้จัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เซียงใหม่) อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา) โดยจัดสรรเป็นงบอุดหนุนผ่านทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว. ซึ่งเดิมคือกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) จึงทำให้ภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 โดยมีมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมดำเนินการในระยะแรก (พ.ศ.2556-2562) จำนวน 16 แห่ง และตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 เกิดการจัดตั้งกระทรวง อว. โดยควบรวมหน่วยงานและภารกิจด้านการอุดมศึกษา วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน มหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจึงเพิ่มขึ้นเป็น 44 แห่ง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้มอบหมายให้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งมีผลการดำเนินงานก้าวหน้ามาเป็นลำดับอีกทั้งเกิดการเชื่อมต่อบูรณาการทั้งด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างเข้มแข็งขึ้น ในปัจจุบัน กระทรวง อว. สนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศไทยรวม 4 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 และ ภาคใต้ มีอาคารนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ อาทิ โรงงานต้นแบบเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ เครื่องมือวิจัย ฯลฯ และกลไกการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับภาคเอกชน ผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การร่วมวิจัยและพัฒนาฯลฯ ทั้งนี้ สป.อว. มีแผนในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออก อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคกลาง เป็นต้น เพื่อการกระจายโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จะพัฒนาเทคโนโลยีนำไปสู่การเกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์และประยชน์ต่อสังคมอย่างทั่วถึง

วิสัยทัศน์

เป็นองค์การตัวกลาง (Intermediary)
ที่เป็น National Platform ในการส่งเสริมให้เกิด
การใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน ววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ

พันธกิจ

1.สร้าง National Platform ที่มี key player เข้าร่วมดำเนินงาน
2.ทำแผนงานส่งเสริมและเร่งการพัฒนา/ ใช้ประโยชน์นวัตกรรม รายสาขา รายพื้นที่
3.ทำแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร
Professional People

ทีมงานอุทยานวิทยาศาสตร์

Regional Science Park

อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา) หรือ Lower Northeastern Science Park (Nakhon Ratchasima) : LNESP เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริม
และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ให้เข้มแข็ง สร้างธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ
รวมถึงการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ระบบการคุ้มครอง
และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาคชุมชน/สังคม
  • พื้นที่สำหรับวิจัยและพัฒนา Research and Development
  • พื้นที่โรงงานต้นแบบ Pilot Plant
  • Regional Science Park Central Lab ที่รองรับการทดสอบด้านเกษตรและอาหาร
  • การให้บริการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ/กฎหมาย/ทรัพย์สินทางปัญญา
years old
Expert People
Projects Completed
Service space
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
อีเมล: spa@mhesi.go.th
เบอร์ติดต่อ: 02-333-3942
จันทร์ - ศุกร์: 8:30 - 16:30 น.
เสาร์ -อาทิตย์: ปิดบริการ

เกี่ยวกับเรา

อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานที่ สนันสนุน ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการ
หรือ ภาคเอกชน โดยการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในและนอกมหาวิยาลัย ทั้งในด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และในส่วนของนวัตกรรม เป็นต้น

Language