ความเป็นมา
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นกลไกสำคัญหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศไทยให้เข้มแข็ง ผ่านการให้บริการพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากร ที่อำนวยความสะดวกสำหรับการต่อยอดงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคทั่วประเทศให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์และ/หรือเกิดประโยชน์แก่สังคม โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคชุมชน เพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี รวมถึงสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมของประเทศ จึงกล่าวได้ว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศ และให้จัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เซียงใหม่) อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา) โดยจัดสรรเป็นงบอุดหนุนผ่านทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว. ซึ่งเดิมคือกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) จึงทำให้ภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 โดยมีมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมดำเนินการในระยะแรก (พ.ศ.2556-2562) จำนวน 16 แห่ง และตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 เกิดการจัดตั้งกระทรวง อว. โดยควบรวมหน่วยงานและภารกิจด้านการอุดมศึกษา วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน มหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจึงเพิ่มขึ้นเป็น 44 แห่ง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้มอบหมายให้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งมีผลการดำเนินงานก้าวหน้ามาเป็นลำดับอีกทั้งเกิดการเชื่อมต่อบูรณาการทั้งด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างเข้มแข็งขึ้น
ในปัจจุบัน กระทรวง อว. สนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศไทยรวม 4 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 และ ภาคใต้ มีอาคารนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ อาทิ โรงงานต้นแบบเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ เครื่องมือวิจัย ฯลฯ และกลไกการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับภาคเอกชน ผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การร่วมวิจัยและพัฒนาฯลฯ ทั้งนี้ สป.อว. มีแผนในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออก อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคกลาง เป็นต้น เพื่อการกระจายโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จะพัฒนาเทคโนโลยีนำไปสู่การเกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์และประยชน์ต่อสังคมอย่างทั่วถึง
วิสัยทัศน์
เป็นองค์การตัวกลาง (Intermediary)
ที่เป็น National Platform ในการส่งเสริมให้เกิด
การใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน ววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ
ที่เป็น National Platform ในการส่งเสริมให้เกิด
การใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน ววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ
พันธกิจ
1.สร้าง National Platform
ที่มี key player เข้าร่วมดำเนินงาน
2.ทำแผนงานส่งเสริมและเร่งการพัฒนา/ ใช้ประโยชน์นวัตกรรม รายสาขา รายพื้นที่
3.ทำแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร
2.ทำแผนงานส่งเสริมและเร่งการพัฒนา/ ใช้ประโยชน์นวัตกรรม รายสาขา รายพื้นที่
3.ทำแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร
Professional People
ทีมงานอุทยานวิทยาศาสตร์
นางวนิดา บุญนาคค้า
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนางสาวทิพวัลย์ เวชชการัณย์
ผู้อำนวยการกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างผศ.คำรณ พิทักษ์
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้Regional Science Park
อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา)
หรือ Lower Northeastern Science Park (Nakhon Ratchasima) : LNESP
เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริม
และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ให้เข้มแข็ง สร้างธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ
รวมถึงการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ระบบการคุ้มครอง
และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาคชุมชน/สังคม
และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ให้เข้มแข็ง สร้างธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ
รวมถึงการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ระบบการคุ้มครอง
และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาคชุมชน/สังคม
Space
Lab
Consultant
- พื้นที่สำหรับวิจัยและพัฒนา Research and Development
- พื้นที่โรงงานต้นแบบ Pilot Plant
- Regional Science Park Central Lab ที่รองรับการทดสอบด้านเกษตรและอาหาร
- การให้บริการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ/กฎหมาย/ทรัพย์สินทางปัญญา